ศูนย์วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมเพื่อการศึกษาร้อยเอ็ด
ความเป็นมา
คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติโครงการศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาแห่งชาติและเครือข่าย
เมื่อวันที่ ๑๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๗
ให้จัดตั้งศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาจังหวัดกระจายในเขตพื้นที่การศึกษา
เขตการศึกษาละ ๑ แห่ง จำนวนทั้งสิ้น ๑๒แห่งทั่วประเทศในขั้นต้น และเพิ่มจำนวนศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาจังหวัดในระยะต่อไป
ในปี พ.ศ. ๒๕๔๕ กรมการศึกษานอกโรงเรียน
กระทรวงศึกษาธิการ ได้เสนอโครงการจัดตั้ง
ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาประจำภาคตะวันออกเฉียงเหนือขึ้น ที่อำเภอธวัชบุรี
จังหวัดร้อยเอ็ด
ในปี พ.ศ. ๒๕๔๗
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นขอบให้สำนักบริหารงานการศึกษานอกระบบ
เป็นหน่วยงานหลักรับผิดชอบแผนบูรณาการเติมปัญญาให้สังคม
ตามยุทธศาสตร์ที่รัฐบาลกำหนด เพื่อมุ่งสู่การพัฒนาประเทศในระยะยาว
ยกระดับคุณภาพชีวิต การเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของประเทศ การพัฒนาความเข้มแข็งทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โดยที่กรรมการศึกษานอกโรงเรียน ได้จัดตั้งศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาจังหวัด ๑๒
แห่ง ครบถ้วนแล้ว จึงเสนอโครงการระยะที่ ๒ เสนอจัดสร้างในชื่อ
ศูนย์วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมเพื่อการศึกษาประจำจังหวัดร้อยเอ็ด
งบประมาณดำเนินโครงการ จำนวน ๗๕๐ ล้านบาท พื้นที่โครงการ ๑๑๕ ไร่ ที่อำเภอธวัชบุรี
จังหวัดร้อยเอ็ด
วันที่ ๓๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๐
พิธีวางศิลาฤกษ์ โดย ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
วันที่ ๑๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๐
ประกาศจัดตั้งเป็นสถานศึกษา ในชื่อศูนย์วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมเพื่อการศึกษาร้อยเอ็ด
ในสังกัดสำนักบริหารการศึกษานอกโรงเรียน โดย ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ปัจจุบัน ได้ก่อสร้างอาคารแล้วเสร็จ ๔
อาคาร ได้แก่ อาคารนิทรรศการหลัก อาคารหอประชุม อาคารท้องฟ้าจำลอง
และอาคารปฏิบัติการสื่อ รวมทั้งภูมิสถาปัตย์ภายนอกอาคาร
ภายในอาคารมีนิทรรศการที่ติดตั้งแล้วเสร็จ จำนวน ๕ นิทรรศการ ได้แก่
นิทรรศการโลกล้านปี นิทรรศการวิทยาศาสตร์พื้นฐาน นิทรรศการดาราศาสตร์และอวกาศ
นิทรรศการเทคโนโลยีชีวภาพ และนิทรรศการขุมทรัพย์แห่งทุ่งกุลา-เกลือสินเธาว์
และได้ติดตั้งเครื่องฉายดาวประจำท้องฟ้าจำลองเรียบร้อยแล้ว
Credit photo : ร้อยเอ็ดโฟโต้
ท้องฟ้าจำลองร้อยเอ็ด
ท้องฟ้าจำลองร้อยเอ็ดเปิดให้บริการเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2557 เป็นท้องฟ้าจำลองขนาดกลาง สามารถรองรับผู้เข้าชมได้ 120 ที่นั่ง/รอบ เป็นท้องฟ้าจำลองที่ทันสมัยที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ใช้เครื่องฉายดาว 2 ระบบคือ ระบบดิจิตอลและระบบกลไกมอเตอร์ฉายผ่านเลนส์ ที่จะนำพาทุกท่านไปพบกับความสนุกสนาน ท่องอยู่ในแดนอวกาศเพื่อสัมผัสกลุ่มดาวต่างๆบนท้องฟ้า และยังได้พบกับสุดยอดภาพยนตร์สารคดีทางดาราศาสตร์ที่จะให้ทั้งความรู้ควบคู่ไปกับความบันเทิง เปิดให้บริการ วันอังคาร - วันเสาร์ เริ่มตั้งแต่เวลา 09.00 - 16.00 น. หยุดทุกวันอาทิตย์ วันจันทร์และวันหยุดนักขัตฤกษ์ ค่าบริการผู้เข้าชม 30 บาท/ที่นั่ง
นิทรรศการวิทยาศาสตร์พื้นฐาน
นิทรรศการวิทยาศาสตร์พื้นฐาน
เป็นนิทรรศการที่ให้ความรู้ในเรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ เสียง แสง
และไฟฟ้าและแม่เหล็ก แบ่งเป็น ๓ ส่วน ได้แก่
ส่วนที่ ๑ ส่วนต้อนรับ ประกอบด้วย
ชิ้นงานเล่นกับเงา (Shadow Interactive) ชิ้นงานรหัสคิวอาร์
(QR Code)ส่วนต้อนรับ ประกอบด้วย ชิ้นงานเล่นกับเงา (Shadow
Interactive) ชิ้นงานรหัสคิวอาร์ (QR Code)
ส่วนที่ ๒
ส่วนที่มีความโดดเด่นในนิทรรศการ ประกอบด้วย ชิ้นงานบอลลูนอากาศร้อน (Hot Air Balloon) ชิ้นงานหน้ากากไอน์สไตน์ (Einstein
Mask)
ส่วนที่ ๓ ส่วนนิทรรศการกึ่งถาวร
แบ่งเป็น ๔ โซน ได้แก่ โซนที่ ๑ เรื่องแรงและการเคลื่อนที่ ประกอบ ด้วย
ชิ้นงานพายุหมุน (Tornado) การเคลื่อนที่ของลูกบอล
(Rolling ball) ชิ้นงานแรงโน้มถ่วง ของโลก (Gravitational
Force) และชิ้นงานลูกบอลเบอร์นูลลี่ (Bernoulli Blower) โซนที่ ๒ เรื่องเสียง ประกอบด้วย ชิ้นงานโปงลาง (Pong Lang) ชิ้นงานคลื่นนิ่ง (Standing wave) และ ชิ้นงานการสั่นสะเทือน
(Chladni) โซนที่ ๓ เรื่องแสง ประกอบด้วย ชิ้นงานโฮโลแกรม (Hologram)
ชิ้นงานภาพสามมิติ (3D Viewer) และชิ้นงานโพลาไรเซซัน
(Polarization) โซนที่ ๔ ไฟฟ้า และแม่เหล็ก ประกอบด้วย
ชิ้นงานบันไดจาคอป (Jacob’s ladder) ชิ้นงานเทสล่า คอยส์ (Tesla
Coil) และชิ้นงานวงแหวนกระโดด (Jumping Ring) เป็นต้น
นิทรรศการโลกล้านปี
นิทรรศการโลกล้านปี เป็นนิทรรศการที่แสดงถึงการกำเนิด เอกภพ กำเนิดโลก
กำเนิดสิ่งมีชีวิตและวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตก่อนยุคประวัติศาสตร์
รวมทั้งสภาพธรณีวิทยาของประเทศไทยและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เมื่อชมนิทรรศการโลกล้านปีแล้วคาดว่าผู้เข้าชมจะมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการกำเนิดเอกภพ
กำเนิดโลก กำเนิดสิ่งมีชีวิต และยุคสมัยต่างๆ
ของสิ่งมีชีวิตในยุคก่อนประวัติศาสตร์
ตลอดจนเห็นคุณค่าของแหล่งธรณีวิทยาในประเทศไทย และเกิดจิตสำนึกการอนุรักษ์
นิทรรศการโลกล้านปีประกอบด้วย
ส่วนที่ ๑ กำเนิดเอกภพ กำเนิดโลก
สู่กำเนิดสิ่งมีชีวิต
ส่วนที่ ๒ ประกอบด้วย ยุคสมัยต่าง ๆ
ของสิ่งมีชีวิตในยุคก่อนประวัติศาสตร์ ประกอบด้วย มหายุคพรี แคมเบรียน
มหายุคพาเลโอโซอิก
และมหายุคซีโนโซอิก
ซึ่งรวมถึงธรณีวิทยาประเทศไทยและภาคอีสานตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
นิทรรศการเทคโนโลยีชีวภาพ
นิทรรศการเทคโนโลยีชีวภาพ คือ
เทคโนโลยีซึ่งนำเอาความรู้ทางด้านต่างๆของวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้กับสิ่ง มีชีวิต
หรือชิ้นส่วนของสิ่งมีชีวิต หรือผลผลิตของสิ่งมีชีวิต
เพื่อเป็นประโยชน์ต่อมนุษย์ไม่ว่าจะเป็นทางการผลิตหรือทางกระบวนการ ของสินค้าหรือบริการ
เพื่อใช้ประโยชน์เฉพาะอย่างตามที่เราต้องการ โดยสามารถใช้ประโยชน์ทางด้านต่างๆ
เช่น ด้านการเกษตร ด้านอาหาร ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านทางการแพทย์ เป็นต้นแบ่งเป็น ๕
ส่วน ได้แก่
ส่วนที่ ๑ ประวัติของเทคโนโลยีชีวภาพ
ประกอบด้วย ความหมายของเทคโนโลยีชีวภาพ ประวัติ
การ ค้นพบสารพันธุกรรม สารพันธุกรรม
ส่วนที่ ๒ ประโยชน์ด้านการเกษตร
ส่วนที่ ๓ ประโยชน์ด้านอาหาร
ส่วนที่ ๔ ประโยชน์ด้านการแพทย์
ส่วนที่ ๕ ประโยชน์ด้านสิ่งแวดล้อม
นิทรรศการขุมทรัพย์แห่งทุ่งกุลาและเกลือสินเธาว์
นิทรรศการขุมทรัพย์แห่งทุ่งกุลาและเกลือสินเธาว์
เป็นนิทรรศการที่มีความรู้เกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของทุ่งกุลา ข้าวหอมมะลิ
เกลือสินเธาว์ และเรื่องเล่าตามตำนานของบ่อพันขัน เป็นต้นแบ่งเป็น ๔ ส่วน ได้แก่
ส่วนที่ ๑ ทุ่งกุลา
ส่วนที่ ๒ เกลือสินเธาว์
ส่วนที่ ๓ บ่อพันขัน
ส่วนที่ ๔ ข้าวหอมมะลิ
Credit photo : ร้อยเอ็ดโฟโต้
: www.roietsci.com.
สถานที่ตั้ง
ศูนย์วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมเพื่อการศึกษาร้อยเอ็ด
เลขที่ 32 หมู่ 2 ตำบลนิเวศน์
อำเภอธวัชบุรี
จังหวัดร้อยเอ็ด 45170
Tel.(043)569340
Fax.(043)569174
ศูนย์วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมเพื่อการศึกษาร้อยเอ็ด
เลขที่ 32 หมู่ 2 ตำบลนิเวศน์
อำเภอธวัชบุรี
จังหวัดร้อยเอ็ด 45170
Tel.(043)569340
Fax.(043)569174
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น